Blog Post

วิธีลงทะเบียนไร้เงินสด ใช้จ่ายผ่าน QR Code ได้เงินคืนจากรัฐ 5%
Money

วิธีลงทะเบียนไร้เงินสด ใช้จ่ายผ่าน QR Code ได้เงินคืนจากรัฐ 5% 

ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายผนักดันสังคมไร้เงินสด ไม่ว่าจะเป็นระบบพร้อมเพย์เองก็ดี และหนึ่งในมาตรการผลักดันจากกระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านมาตรการ ลดใช้เงินสด ได้รับเงินคืน ระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2562 ซึ่งเป็นช่วงในระหว่างตรุษจีนนั่นเอง

ใช้จ่ายผ่าน QR Code ได้เงินคืนจากรัฐ 5%

สำหรับขั้นตอนก็ง่ายมาก (แต่ย้ำว่าหลังอ่านบทความต้องทำโดยด่วน!) เริ่มจากการลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ของภาครัฐ หมดเขตวันที่ 31 มกราคม 2562 จากนั้นก็ใช้จ่ายผ่านร้านค้าที่ร่วมรายการ ระหว่างวันที่ 1-15 กุมภาพันธ์ 2562 ผ่านบัตรเดบิต/QR Code กับร้านค้าที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร่วมรายการเท่านั้น (ยกเว้นสินค้า สุรา ยาสูบ น้ำมัน รถยนต์ รถจักรยานยนต์) จากนั้นรอรับเงินคืน 5% แต่ไม่เกิน 1,000 บาท/คน

ข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้บริการ

  1. ข้าพเจ้าตกลงยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้า และข้อมูลธุรกรรมในการซื้อสินค้าและบริการ ของข้าพเจ้าแก่หน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องในช่วงระหว่างวันที่มีการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการตามมาตรการฯ นี้ และมาตรการอื่นใดตามที่กระทรวงการคลังจะกำหนด
  2. ข้าพเจ้ายินยอมให้หน่วยงานของรัฐร้องขอ สอบถาม และใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าจากสถาบันการเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามมาตรการฯ นี้ และมาตรการอื่นใดตามที่กระทรวงการคลังจะกำหนด
  3. กรณีข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะยินยอมไม่นำภาษีซื้อซึ่งเกิดขึ้นจากการซื้อสินค้าและบริการ และถูกนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินชดเชยเพื่อจ่ายเงินชดเชยตามมาตรการฯ นี้ และมาตรการอื่นใดตามที่กระทรวงการคลังจะกำหนด โดยให้สิทธิประโยชน์โดยใช้ข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้ชำระเป็นฐานในการคำนวณเพื่อกำหนดสิทธิประโยชน์ดังกล่าว ไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร
  4. หากข้อมูลการลงทะเบียนของข้าพเจ้าไม่เป็นตามเงื่อนไขของมาตรการฯ นี้ และมาตรการอื่นใดตามที่กระทรวงการคลังจะกำหนด ข้าพเจ้ายินยอมที่จะไม่รับเงินชดเชยตามมาตรการฯ นี้ หรือสิทธิประโยชน์ตามมาตรการอื่นใดตามที่กระทรวงการคลังจะกำหนด
  5. ข้าพเจ้าได้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการลงทะเบียนแล้ว และหากข้าพเจ้ากรอกหมายเลขบัตรเดบิตหรือเลขที่บัญชีธนาคารไม่ถูกต้อง จะยินยอมให้ผู้ให้บริการการชำระเงิน เช่น ธนาคารเจ้าของบัญชี ธนาคารเจ้าของบัตร เป็นต้น แก้ไขข้อมูลดังกล่าว
  6. ข้าพเจ้าตกลงยินยอมไม่นำรายการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการที่มีภาษีสรรพสามิต ได้แก่
    1. สุรา
    2. ยาสูบ
    3. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
    4. รถยนต์
    5. รถจักรยานยนต์
  7. ข้าพเจ้าตกลงยินยอมจะนำเฉพาะรายการชำระเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ สำหรับการซื้อสินค้าหรือรับบริการในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 – 15 กุมภาพันธ์ 2562 มาใช้สิทธิ์ตามมาตรการฯ นี้ เท่านั้น

ทั้งนี้ การตกลงยินยอมตามข้อ 1 – 4 ข้างต้นจะมีผลตั้งแต่วันที่ท่านตกลงยินยอมถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 และหากท่านไม่ประสงค์จะเข้าร่วมมาตรการอื่นใดตามที่กระทรวงการคลังจะกำหนด สามารถยกเลิกการตกลงยินยอมดังกล่าวข้างต้นได้ โดยวิธีการ ช่องทาง และระยะเวลาที่กระทรวงการคลังจะกำหนดก่อนกำหนดมาตรการอื่นใด

หมายเหตุ: มาตรการฯ คือ มาตรการส่งเสริมการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการ และการนำส่งข้อมูลภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา – epayment.go.th

Related posts